เมนู

อธิบายคำว่า ธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ)


พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.

สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย
ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นใน
เพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาว-
นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการ
อย่างนี้ ชื่อว่า มีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่.
จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า
นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ดังนี้ ก็ย่อมรู้
ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้. แม้ใน เวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ.
ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ หรือย่อมไม่รู้ซึ่งเสียงแห่ง
พยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่น ๆ
ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ
นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้น ดังนี้. แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า
นี้ไม่ใช่กจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้วได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า
ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่า ติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่ง
ทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือ หมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาต
ให้ภิกษุขอฟังภาษาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า ใน
บรรดาภาษา 18 อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน
ดังนี้ ก็คำ
ปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ใน-